  
ประวัติโรงเรียน
โรงเรียนพระบาทนาสิงห์พิทยาคม เป็นโรงเรียนสหศึกษา ประกาศจัดตั้งโดยกระทรวงศึกษาธิการเมื่อ
วันที่ 14 มีนาคม2535 เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก เปิดสอนมัธยมศึกษา ตอนต้นและตอนปลาย สังกัด
กองการมัธยมศึกษา กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ได้รับการอนุมัติให้จัดตั้งเป็นโรงเรียนสาขาเมื่อ
วันที่ 3 ธันวาคม 2534 เปิดสอนครั้งแรก เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2534 โดยครั้งแรกเป็นโรงเรียนสาขา
ของโรงเรียนประชาบดีพิทยาคม
ปัจจุบันโรงเรียนพระบาทนาสิงห์พิทยาคม มีข้าราชการครูทั้งหมด 20 คน ครูธุรการ 1 คน ครูอัตราจ้าง 1 คน
ลูกจ้างชั่วคราว 2 คน นักเรียน 243 คน มีนายศุภกิต ถิ่นทอง เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน
คำขวัญของโรงเรียน
"เรียนดี กีฬาเด่น เน้นวินัย ใฝ่คุณธรรม น้อมนำเศรษฐกิจพอเพียง"
ปรัชญาของโรงเรียน
นตฺถิ ปญฺญา สมาอาภา
" แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี "
สีประจำโรงเรียน
" เขียว-ขาว "
ต้นไม้ ประจำโรงเรียน
ต้นพญาสัตบรรณ
สัญญลักษณ์ประจำโรงเรียน

ความหมาย พื้นนา,สิงห์,ยอดเจดีย์
วิสัยทัศน์
นักเรียนโรงเรียนพระบาทนาสิงห์พิทยาคมเป็นบุคคล ที่มีความรู้ คู่คุณธรรม ล้ำเลิศศิลปะ ดนตรีและเทคโนโลยี มีทักษะวิชาชีพพื้นฐาน สานสัมพันธ์วัฒนธรรมชุมชน หลุดพ้นจากยาเสพติด ใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง และเตรียมความพร้อมสู่ประชาคม อาเซียน
พันธกิจ
1. ส่งเสริมและพัฒนาให้นักเรียนเป็นคนดี มีคุณธรรม จริยธรรม สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่าง มีความสุข โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
2. ส่งเสริมให้นักเรียนแสดงออกตามความถนัด และความสนใจด้านศิลปะ ดนตรี กีฬาและเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ
3. จัดการศึกษาให้ครบตามหลักสูตรแกนกลาง หลักสูตรท้องถิ่น และพัฒนาวิชาชีพโดยบูรณาการหลักเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดการเรียนรู้
4. ส่งเสริมให้นักเรียนมีความรักและหวงแหนในขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงานของท้องถิ่น และร่วมกันอนุรักษ์ด้วยความเต็มใจ
5. ปลูกจิตสำนึกที่ดีให้กับนักเรียน รู้จักป้องกันภัยจาก ยาเสพติด และดำรงชีวิตตามแนวทางของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
เป้าประสงค์
1.นักเรียนเป็นคนดี มีคุณธรรม จริยธรรม สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
2. นักเรียนมีทักษะด้านศิลปะ ดนตรี กีฬา และเทคโนโลยี และสามารถแข่งขันได้ทุกระดับโดยเฉพาะประชาคมอาเซียน
3. นักเรียนที่จบการศึกษาจากโรงเรียน สามารถเรียนต่อและประกอบสัมมาอาชีพได้ และสามรถดำรงชีพได้ในสังคมสากลโดยเฉพาะประชาคมอาเซียน
4. นักเรียนมีความรัก หวงแหน และร่วมกันอนุรักษ์ในขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของท้องถิ่นด้วยความเต็มใจ
5. นักเรียนมีจิตสำนึกที่ดี รู้จักป้องกันภัยจากยาเสพติด และดำรงชีวิตตามแนวทางของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเหมาะสม
|